เครื่องกันนอนกรน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นจากการที่ทางเดินหายใจอุดตัน (Obstructive sleep apnea) หรือ การทำงานของสมองส่วนกลางมีความผิดปกติ ( Central sleep apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ขาดออกซิเจน ขณะที่นอนหลับ ดังนั้นจึงไปกระตุ้นให้เกิดการพยายามหายใจขณะหลับดัวงจรการหลับจะได้รับผลกระทบ ทำให้การหลับที่ดี และหลับลึกไม่เกิดขึ้น ส่งผลร้ายแรงตามมา

ชนิดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ:

  1. Central sleep apnea (CSA), เกิดจากการที่สมองไม่ส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ
  2. Obstructive sleep apnea (OSA), พบได้บ่อย เกิดจากกล้ามเนื้อลำคอหย่อน ไปอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้ไม่มีอากาศไปสู่ปอด

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?

  • มีอาการเหนื่อย หรือเพลียเมื่อตื่นนอน ถึงแม้จะนอนหลับสนิททั้งคืน
  • ง่วงนอนระหว่างวัน โดยเฉพาะเวลาขับรถ
  • นอนกรน อาการนี้มักพบบ่อยได้ในคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่บางครั้ง ถึงแม้จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจไม่พบการนอนกรนได้
  • นอนไม่หลับ
  • อารมณ์แปรปรวน: :ซึมเศร้า วิตกกังวล
  • การทำงานของสมองได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม มีปัญหาในการโฟกัส หรือปัญหาเกี่ยวกับสมอง
  • หยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งคนรอบข้างสังเกตได้
  • ตื่นหลายรอบเวลากลางคืน
  • มีอาการสำลัก เวลากลางคืน
  • มีอาการเหงื่ออกหรือ กระสับกระส่าย เวลากลางคืน

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?

  • น้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไขมันที่สะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน สามารอุดตันอากาศขณะหายใจ
  • ชายสูงอายู มีโอกาส 2 -3 เท่าที่จะเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มากกว่าผู้หญิง.คนสูงอายุมีโอกาสที่จะเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้มากกว่าคนที่อายุน้อย
  • ประวัติครอบครัว ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมากขึ้น
  • จมูกอุดตัน ทำให้หายใจลำบาก มีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากกว่า
  • การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 3 เท่า
  • แอลกอฮอล์ สารทำให้เคลิ้มทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหย่อนลงเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ข้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นสำหรับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?

  • ง่วงนอนระหว่างวัน
  • ความดันสูง
  • ปัญหาหัวใจ
  • เบาหวาน ชนิด 2
  • โรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ
  • เกิดข้อแทรกซ้อนเกี่ยวกับยาและการผ่าตัด
  • ไขมันพอกตับแบบไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์

การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การทดสอบภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีดังนี้:

  • การทดสองทางห้องปฎิบัติการ (polysomnogram): จะทำทดสอบแบบค้างคืนที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ขณะที่นอนหลับ การทดสอบแบบนี้ถือเป็นการทดสอบ Gold standard
  • การทดสอบที่บ้าน: ที่ Global Dental Complex, เรามีการทดสอบสำหรับคนไข้ที่สงสัยว่ามีปัญหา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  หรือนอนกัดฟัน  โดยที่ จะมีเซ็นเซอร์ และเครื่องมือติดที่ตัวคนไข้ระหว่างหลับที่บ้าน การทดสอบบบนี้ใกล้เคียงกับการทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล แต่จะไม่มีการทดสอบคลื่นสมอง ดังนั้นจะไม่สามารถวินิจฉัยกรณีคนไข้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งมีสาเหตุมาจากสมองส่วนกลาง ( central sleep apnea) ได้

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาแบบไม่ใช้ยา การรักษาแค่ช่วยลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ประกอบด้วย

  • ใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive airway pressure device) หรือ เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า.
  • เครื่องมือในปาก Oral appliances (mouthpieces).
  • ลดน้ำหนัก
  • เปลี่ยนท่านอน ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยในการนอนหลับ:  โดยให้นอนหลังตั้งขึ้นเพื่อไม่ให้ทางเดินหายใจหย่อน ไปอุดตันทางเดินหายใจ
  • พ่นสเปรย์ทางจมูก เพื่อทำให้อากาศไหลผ่านจมูกได้ง่ายขึ้นช่วยลดอาการนอนกรน เหมาะกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบน้อย ไม่เหมาะกับคนไข้ที่ มี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบปานกลางหรือรุนแรง  .

เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า หรือContinuous positive airway pressure (CPAP)

เครื่องมือ Continuous positive airway pressure device เพิ่มความดันอากาศที่เข้าไปในทางเดินหายใจขณะที่หายใจ วิธีนี้สามารถใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบบอุดตัน และแบบส่วนกลาง  ซึ่งเครื่องมือแบบนี้มีหลายประเภทให้เลือกใช้

อุปกรณ์ในช่องปาก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดตันเกิดจากการที่ลิ้น และขากรรไกรล่างหย่อนลงมาขณะที่นอนหลับ อุปกรณ์ในช่องปาก สามารถช่วยประคองตำแหน่งลิ้นและขากรรไกรไม่ให้ตกลงไปอุดตันทางเดินหายใจ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน จะส่งคนไข้ที่มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบเล็กน้อย หรือ นอนกรนแต่ไม่มีการอุดตันทางเดินหายใจมาหาทันตแพทย์เพื่อใช้เครื่องมือทางทันตกรรมช่วยในการรักษา

 

เครื่องมือในช่องปากช่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร?

กรณีคนไข้มี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แบบเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้อุปกรณ์ในช่องปากได้ แต่ถ้าคนไข้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบร้ายแรง แนะนำให้ใช้ CPAP (Continuous Positive airway pressure device) หรือ เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า หรือ BiPAP อุปกรณ์ในช่องปากบางครั้งใช้เป็นทางเลือกสำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถใช้เครื่อง PAP ได้

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ในช่องปากไม่สามารถใช้แทนเครื่อง CPAP ได้ในคนไข้บางคน ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ในช่องปากจะทำให้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้นได้ แต่ การรักษาด้วยเครื่องCPAP ก็ยังเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

จุดประสงค์หลักในการใช้อุปกรณ์ในช่องปาก คือ เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิด ระหว่างนอนหลับ ป้องกันทางเดินหายใจโดนอุดตันจากเนื้อเยื่อ ทำให้อากาศไหลเข้าออกได้ตามปกติขณะหายใจ ตอนนอนหลับ

อุปกรณ์ในช่องปากสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท:

  1. Mandibular (lower jaw) advancing devices เครื่องมือผลักขากรรไกรล่างมาด้านหน้า
  2. Tongue retaining devices

ตัวเครื่องมือในช่องปากจะช่วยรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้โดย:

  1. ดันขากรรไกรล่างมาด้านหน้าเพื่อเปิดทางเดินหายใจ.
  2. ป้องกันลิ้นตกไปในทางเดินหายใจขณะที่นอนหลับ.
  3. ข้อ1 และ 2 จะเกิดพร้อมกัน.

Scroll down

ตะกร้าสินค้า0
There are no products in the cart!
ซื้อสินค้าต่อ