ข้อต่อขากรรไกรคืออะไร?
ข้อต่อขากรรไกร คือ ข้อต่อที่เชื่อมขากรรไกรล่างกับกระโหลกศีรษะ (pic) การบดเคี้ยว พูด หาว และกลืน เกิดจากการทำงานของข้อต่อขากรรไกรล่าง
สาเหตุของความเจ็บปวดบนใบหน้าและขากรรไกร
TMD เกิดจากการทำงานที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อขากรรไกร ซึ่งเกิดมาจากตำแหน่งของขากรรไกรไม่ถูกต้อง TMD มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ในหลายๆเคส สาเหตุที่แน่นอนของ TMD ยังไม่แน่ชัด
- มีแรงที่มากเกินไปที่ข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการ เคี้ยว กลืน และพูด
- อุบัติเหตุที่บริเวณขากรรไกร ศีรษะ หรือ คอ
- ข้ออักเสบ และ มีการเคลื่อนที่ของแผ่นรองรับข้อต่อขากรรไกร
- การกัดฟัน ซึ่งทำให้ข้อต่อขากรรไกรมำการทำงานหนักเกินไป เกิดความเสียหายต่อแผ่นที่รองรับข้อต่อขากรรไกร หรือ มีการเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งปกติ
- ความเครียด มีผลกับ ข้อต่อขากรรไกร
อาการของความเจ็บปวดบนใบหน้าและขากรรไกร
TMDมีอาการหลายๆอย่างร่วมกัน ซึ่งบางครั้งอาการที่เกิดขึ้น อาจทพให้เข้าใจผิดว่าเกิดปัญหาที่อื่น ดังนั้นทันตแพทย์เฉพาะทาง ด้านการบดเคี้ยว (TMD) จะเป็นผู้วินิจฉัยอาการให้ได้ ด้วยการซักประวัติ การตรวจทางคลินิก รวมทั้งอาจมีการถ่ายภาพรังสี
อาการของ ความเจ็บปวดบนใบหน้าและขากรรไกร ประกอบไปด้วย
- เจ็บข้อต่อขากรรไกร (มักเกิดในตอนเช้า หรือบ่ายๆ)
- ปวดหัว
- ปวดบริเวณตา ใบหน้า ไหล่ คอ และ/หรือ หลัง
- ปวดเวลาเคี้ยว.
- ปวดบริเวณหู
- มีเสียง คลิ๊ก ของข้อต่อขากรรไกร
- ข้อต่อขากรรไกรค้าง หรือ หลุดออกมา
- อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ
- นอนกัดฟัน
- เวียนหัว
- มีอาการเสียวฟัน ทั้งๆที่ไม่ได้มีปัญหาที่ฟัน
- การสบฟันเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
อาการของ ความเจ็บปวดบนใบหน้าและขากรรไกร อาจใกล้เคียงกับปัญหาทางการแพทย์อย่างอื่น ซึ่งทันตแพทย์เฉพาะทางด้านบดเคี้ยวจะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
การวินิจฉัย
- การซักประวิติ
ทันตแพทย์จะถามถึงบริเวณที่มีอาการปวด รวมทั้ง ระดับความรุนแรง รวมทั้งอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง นอกจากนี้ยังมีการซักถามถึงอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ปวดหัว หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการ
จุดประสงค์ของการถามข้อมูล นอกจากเพื่อการวินิจฉัย โรคแล้ว ยังต้องการตัดโรคบางอย่างที่ไม่น่าเกี่ยวข้องออก เช่น
- ปัญหาจากฟัน
- ไมเกรน
- การอักเสบของปลายประสาทเส้นที่ 5
- นิ่วในต่อมน้ำลาย
- ไซนัสอักเสบ
2. ตรวจทางคลินิก
ทันตแพทย์จะตรวจข้างในช่องปาก เพื่อหาอาการที่อาจเกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการวัดความสามารถในการอ้าปาก การเคลื่อนขยับขากรรไกรติดขัดหรือไม่ และมีการกดหาตำแหน่งที่เกิดอาการเจ็บ หรือปวด บริเวณข้อต่อขากรรไกร บ่า คอ
การถ่ายภาพรังสี
ทันตแพทย์จะเป็นตัดสินใจว่าควรถ่ายภาพแบบใด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค
- เอ็กซเรย์
- CT scan
- MRI
การรักษา ความเจ็บปวดบนใบหน้าและขากรรไกร
ประกอบด้วย
- การจัดการความเจ็บปวด : ประคบอุ่นที่บริเวณที่ปวด หรือทานยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบรูโพรเฟน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
- เครื่องมือป้องกันนอนกัดฟัน: ถ้ามีอาการนอนกัดฟัน เครื่องมือนี้จะช่วยลดอาการที่เกิดขึ้น
- Biofeedback: ความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการแย่ลง การจัดการความเครียด และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย จะช่วยลดอาการที่เกิดขึ้น
- การจัดฟัน: บางครั้งการที่ฟันอยู่ผิดตำแหน่ง ก็ทำให้การสบฟันผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการ TMD ได้ ดังนั้นการจัดฟันจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
- บูรณะฟันทั้งปาก: เช่นใส่ฟันที่หายไป แก้ไขฟันที่สึกทั้ง
- การผ่าตัด
- ฝึกท่าทางการนั่ง การเดิน