ทันตกรรมสำหรับเด็กเป็นสาขาของทันตกรรมที่มุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ทันตแพทย์เด็กที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางจะดูแลฟันน้ำนมและฟันแท้ของเด็ก รวมถึงสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยรวม ทันตแพทย์เด็กยังสามารถจัดการปัญหาสุขภาพช่องปากบางอย่างที่พบบ่อยในเด็ก เช่น ฟันผุ โรคเหงือก และฟันคุด สามารถรับบริการทันตกรรมเด็กได้ที่ คลินิกทันตกรรมเด็ก
คลินิกทันตกรรมเด็ก เป็นคลินิกที่ให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็ก ทำฟันเด็กโดยเฉพาะ คลินิกทันตกรรมประเภทนี้มักจะมีบรรยากาศที่ผ่อนคลายและสนุกสนานมากกว่าคลินิกทันตกรรมทั่วไป ซึ่งอาจทำให้เด็กรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายมากขึ้น คลินิกทันตกรรมเด็กมักจะมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเด็กโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลฟัน ทำฟันเด็ก และการรับมือกับสถานการณ์พิเศษที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำฟันเด็กได้
ฟันน้ำนมสำคัญยังไง
ฟันน้ำนมมีความสำคัญมาก การดูแลรักษาฟันน้ำนมของลูกๆ จะมีผลอย่างมากกับฟันแท้ของเค้าในอนาคต ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักคิดว่าฟันน้ำนมอยู่แค่ชั่วคราวก็หลุดออกไป ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาให้ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฟันน้ำนมมีประโยชน์หลายข้อ ดังนี้
- ช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจน
- ฟันน้ำนมจะช่วยกันที่ฟันแท้ เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในแนวที่เหมาะสมได้ กรณีถ้าสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะทำให้ฟันแท้มีที่ว่างในการขึ้นไม่พอ เกิดปัญหาฟันซ้อนเกตามมาในอนาคต
การดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็ก ทำได้อย่างไร
- เมื่อฟันเริ่มขึ้น ควรเริ่มแปรงฟันโดยใช้ แปรงสีฟันขนนุ่ม และใช้ผ้าชุบน้ำสะอาด ทำความสะอาดสันเหงือกและลิ้น
- ในเด็กเล็กมากการใช้ปริมาณยาสีฟันร่วมกับการแปรงฟัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
มาหาหมอฟันเมื่อไหร่ดี
เด็กควรมาพบหมอฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรือ อย่างช้าไม่เกิน 1 ปี
การเตรียมตัวคนไข้ก่อนการเข้าพบหมอฟัน
- การทำฟันเด็กต้องการความร่วมมือจากทั้งเด็กและผู้ปกครอง แต่ที่สำคัญมากสุดคือความร่วมมือของผู้ปกครอง
- สร้างความคุ้นเคยให้เด็กก่อนมาทำฟัน เช่น พาเด็กมาทำฟันด้วยเวลาผู้ปกครองมาทำฟัน หรือ
มาหาหมอฟันครั้งแรก หมอฟันทำอะไรให้ได้บ้าง
ในครั้งแรกของการเรื่มทำฟันเด็ก ส่วนใหญ่หมอจะพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและให้คำแนะนำเป็นหลัก ทั้งการแปรงฟัน การกินอาหาร การกินนม หากมีฟันขึ้นหลายซี่แล้วอาจจะมีการเคลือบฟลูออไรด์ และให้เด็กทำความคุ้นเคยกับบุคลากรและสถานที่ของคลินิกทำฟัน และนัดติดตามเพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ทำอะไรบ้าง ในแต่ละช่วงอายุ
- เด็กเล็กๆ อายุ ไม่เกิน 2 ขวบ หากไม่มีคราบขี้ฟันสะสมมาก ไม่มีฟันผุ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ขัดฟัน เพราะเด็กอาจจะกลัวเสียงของเครื่องขัดฟัน แต่ทาฟลูออไรด์ให้เท่านั้น
- ในเด็กที่อายุ 3 ขวบ ขึ้นไป ส่วนใหญ่หมอฟันอาจจะเริ่มขัดฟันให้ เพื่อให้เด็กได้ทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ สร้างความคุ้นเคย และเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
- ในเด็กอายุ 4 ขวบ ขึ้นไป ในรายที่ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูงอาจมีความจำเป็นต้องถ่าย x-ray เพื่อตรวจฟันผุบริเวณซอกฟัน
- เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปที่มีฟันกรามแท้ขึ้นแล้ว จะต้องทำเคลือบหลุมร่องฟันแท้เพื่อป้องกันฟันผุบริเวณหลุมร่องฟัน
- การจัดการกับฟันผุมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ ขึ้นกับอายุ และความร่วมมือของเด็กเป็นหลัก ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องรอให้อายุมากกว่านี้ก่อนถึงค่อยพามาหาหมอ ซึ่งตอนนั้นอาจจะสายเกินแก้ไขแล้ว เนื่องจากฟันผุในฟันน้ำนมสามารถลุกลามไวกว่าฟันแท้มาก
มาหาหมอฟัน หมอฟันทำอะไรให้ได้บ้าง
เด็กควรมาพบหมอฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรือ อย่างช้าไม่เกิน 1 ปี
เมื่อฟันกรามน้ำนมอยู่ในลักษณะประชิดกัน (ฟันติดกันแน่น) เพื่อตรวจซอกฟันผุ การตรวจด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว ของทันตแพทย์อาจไม่เพียงพอที่จะค้นพบฟันผุด้านประชิดฟันได้ ซึ่งส่วนใหญ่ทำในเด็กอายุ 3-4 ขวบขึ้นไป
- การเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ
ควรได้รับการตรวจฟันทุก 6 เดือน พร้อมทั้ังได้รับการเคลือบฟลูอไรด์จากทันตแพทย์ เพื่อลดการเกิดฟันผุ โดยฟลูออไรด์กระตุ้นการสะสมของแร่ธาตุและยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุบนผิว
- การเคลือบหลุมร่องฟัน
เป็นการลดสาเหตุการเกิดฟันผุ เนื่องจากในฟันกรามที่มีหลุมร่องลึกจะเป็นแหล่งสะสมของคราบจุลินทรีย์ การเคลือบหลุมร่องให้ตื้นขึ้นเพื่อลดการกักเก็บของคราบจุลินทรีย์
ผิวฟันที่มีลักษณะเป็นฝ้าขาวขุ่นเป็นการผุระยะเริ่มแรก ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องทำการอุด แต่ควรดูแลทำความสะอาดฟันให้ดีขึ้น แต่หากผิวฟันมีลักษณะเป็นโพรงหรือเป็นหลุม เป็นรู ควรได้รับการอุดฟันทันที
- การรักษารากฟันเด็ก (รากฟันน้ำนม)
การรักษารากฟันเด็ก เป็นการทำฟันเด็กของฟันน้ำนมที่ผุลึกถีงโพรงประสาทฟัน เด็กอาจมีอาการปวดกลางคืน หรือมีอาการปวดเป็นเวลานานเมื่อมีเศษอาหารติด หรือฟันที่มีเหงือกบวมเป็นหนอง สามารถทำการรักษาเก็บฟันเอาไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันเสมอไป ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีฟันไว้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร เก็บพื้นที่ไว้ให้ฟันแท้และรอฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ฟันน้ำนมซี่นั้นๆ ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์ทำการรักษารากฟันเด็กพร้อมทำการครอบฟัน ใช้เวลาประมาณ 1-2 ครั้ง
- การครอบฟันเด็ก (ครอบฟันเทวดา ครอบฟันนางฟ้า)
ฟันที่ผุที่มีขนาดกว้างใหญ่ หากทำการอุดฟันวัสดุอุดฟันจะแตกหักหลุดง่าย หรือในฟันที่ได้รับการรักษารากฟันน้ำนมมานั้น ตัวฟันจะมีความเปราะบางแตกง่าย ทันตแพทย์จะพิจารณาทำครอบฟันเหล็กไร้สนิม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานของตัวฟัน และฟันสามารถใช้งานได้เหมือนฟันน้ำนมปกติ
- การใส่เครื่องมือกันที่
เป็นการกันช่องว่าง, กันฟันล้ม ฟันน้ำนมที่มีปัญหาจนไม่สามารถอุดฟันหรือรักษารากฟันเก็บเอาไว้ได้ เช่น ฟันผุที่เหลือแต่รากฟัน ฟันที่เป็นหนองขนาดใหญ่บริเวณปลายรากฟันมีความจำเป็นต้องถอนออก ในขณะที่เด็กอายุน้อยๆ ซึ่งต้องรอระยะเวลาที่ฟันแท้ขึ้นเป็นระยะเวลานาน ทันตแพทย์จะพิจารณาใส่เครื่องมือกันฟันล้ม เพื่อกันพื้นที่เก็บไว้สำหรับฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ขึ้น (โดยไม่ให้ฟันซี่อื่นเบียดเข้ามาในช่องว่างตำแหน่งฟันที่ถูกถอนไป) เป็นการป้องกันปัญหาฟันแท้ตำแหน่งใต้ฟันน้ำนมที่ถูกถอนไป ขึ้นไม่ได้หรือเกิดปัญหาฟันแท้ขึ้นซ้อนเก
ปัญหาการเรียงตัวเพียงเล็กน้อย เช่น ฟันสบคร่อม 1-2 ซีจะได้รับการพิจารณา ให้ใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ในระยะชุดฟันผสม (มีทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมช่วงอายุ 6-12 ปี) โดยเด็กจะต้องให้ความร่วมมือในการถอด-ใส่เครื่องมือชนิดนี้ และต้องรู้จักรักษาความสะอาดฟันเป็นอย่างดี
คลินิกทันตกรรมเด็ก ดูแลทันตกรรมสำหรับเด็กเป็นสิ่งสำคัญเพราะสามารถช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงในภายหลังได้ ทันตแพทย์เด็กสามารถให้คำแนะนำเด็กเกี่ยวกับวิธีการดูแลฟันและเหงือกอย่างถูกวิธี รวมถึงการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน (flossing) และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทันตแพทย์เด็กยังสามารถตรวจหาและรักษาปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่ร้ายแรงในภายหลังได้
หากคุณมีลูก สิ่งสำคัญคือต้องพาพวกเขาไปพบทันตแพทย์เด็กตั้งแต่อายุยังน้อย ทันตแพทย์เด็กสามารถช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อสุขภาพสำหรับลูกของคุณเมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพช่องปาก และสามารถช่วยลูกของคุณให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีไปตลอดชีวิต คุณสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำฟันเด็กกับ คลินิกทันตกรรมเด็ก โกลบอล เด็นทัล คอมเพล็กซ์ โทร. 065-669-9191 หรือ 02-591-9191