ซีทีสแกน (ภาพถ่ายรังสี 3 มิติ)
มองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน ช่วยทันตแพทย์วางแผนการรักษาอย่างแม่นยำ
ซีบีซีทีสแกน ใช้กันมากในวงการทันตแพทย์ โดยจะเก็บข้อมูล3มิติ ในบริเวณที่ทันตแพทย์สนใจ เช่น ฟัน, ขากรรไกรและคอ , จมูก, ลำคอ เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่าง CBCT กับ CT ที่ใช้ทางการแพทย์
- CBCT ใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำกว่า CT ที่ใช้ทางการแพทย์ ถ้าถ่ายบริเวณเดียวกัน
- CBCT ให้ความละเอียดของข้อมูลมากกว่า CT ที่ใช้ทางการแพทย์
ข้อดีของ CBCT
- ระยะเวลาการถ่ายCBCT สั้นกว่า แต่ได้ข้อมูลที่ละเอียด.
- ข้อมูลที่ได้จะเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งจะสามารถเห็นปัญหาได้ทุกมุมอง ในขณะที่การถ่ายภาพรังสีในอดีตข้อมูลที่ได้จะเป็น 2 มิติ.
- ภาพรังสี 2 มิติ มีข้อจำกัดคือ บางครั้งภาพที่ได้ มีการซ้อนทับกันม ภาพมีการยืดขยาย หรือหดสั้นกว่าความเป็นจริง ในขณะที่ภาพถ่าย CBCT เป็นภาพ 3 มิติ มีการบิดเบี้ยวหรือซ้อนทับของภาพ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำและถูกจุดมากขึ้น
ในปัจจุบัน เนื่องจากภาพถ่าย CBCT ให้ข้อมูลที่ละเอียดแม่นยำ จึงนำไปใช้ เช่น
- หาตำแหน่งฟันฝัง หรือ ฟันคุด เพื่อลดการกรอกระดูกโดยไม่จำเป็น
- หาตำแหน่งฟันฝัง เพื่อเข้าไปติดเครื่องมือจัดฟัน
- ใช้วางแผนการรักษาสำหรับใส่รากเทียม
- ใช้วางแผนสามมิติ สำหรับคนไข้ผ่าตัดขากรรไกร (Surgery)
- หาจำนวนคลองรากฟัน
ดิจิทัลเอกซเรย์
ดิจิทัลเอกซเรย์ ช่วยให้ทันตแพทย์ สามารถดูภาพรังสีของฟันได้ทันทีผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในโปรแกรมที่ใช้ดูภาพเอกซเรย์ดิจิทัลนั้นยังมีเครืองมือต่างๆที่ช่วยให้ทันตแพทย์วิเคราะห์รายละเอียดที่ตัวฟันและกระดูกรอบๆฟันได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ในส่วนของคนไข้นั้น ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพดิจิทัลเอกซเรย์ นั้นน้อยกว่าปกติถึง 80%
ขั้นตอนการถ่ายดิจิทัลเอกซเรย์
ขั้นตอนนั้นเหมือนกับการถ่ายภาพรังสีปกติทั่วไป โดยเจ้าหน้าที่จะวางแผ่นเซ็นเซอร์ไว้ในช่องปากตำแหน่งที่ต้องการถ่ายภาพ โดยเซ็นเซอร์ อันนี้จะส่งข้อมูลของภาพถ่ายเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และสามารถดูภาพได้ทันทีจากจอคอมพิวเตอร์ห้องทำฟัน โดยไม่ต้องเสียเวลารอการล้างฟิล์มแบบในอดีต
ข้อดีของดิจิทัลเอกซเรย์
- เมื่อภาพดิจิทัลเอกซเรย์ แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทันตแพทย์สามารถปรับขนาดภาพ หรือขยายให้ได้ตำแหน่งและขนาดที่ต้องการ ซึ่งทำให้สามารถเห็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้ง่ายขึ้น
- การวินิจฉัยปัญหามีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น
- ภาพดิจิทัลเอกซเรย์ สามารถดูได้ทันที ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลารอล้างฟิล์ม
- ทันตแพทย์สามารถแสดงรูปดิจิทัลเอกซเรย์ บนจอคอมพิวเตอร์ ให้คนไข้เห็นได้ทันที และง่ายต่อการอธิบายรายละเอียดและปัญหาต่างๆที่เจอ
- ถ้าต้องการความเห็นของทันตแพทย์อีกท่าน ภาพดิจิทัลเอกซเรย์สามารถส่งผ่านอีเมลล์ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลา ปริ้นออกมาแล้วส่งไปรษณีย์
- ให้ข้อมูลแก่คนไข้ได้ง่าย
ภาพรังสีฟันดิจิทัล 2 มิติ มีกี่แบบ?
ความแตกต่างของดิจิทัลเอกซเรย์ แบบต่างๆ ดิจิทัลเอกซเรย์ สามารถถ่ายได้ทั้งในปาก และนอกช่องปากของคนไข้
ภาพดิจิทัลเอกซเรย์ ในช่องปาก:
- ไบท์วิง (Bite-wing X-Rays): เจ้าหน้าที่จะให้คนไข้กัดลงบนแผ่นเซ็นต์เซอร์ เพื่อต้องการจะดูฟันผุบริเวณซอกฟัน, ดูสภาพของขอบวัสดุอุดเก่าว่ามีรอยรั่วหรือไม่ หรือดูความแนบของครอบฟัน
- ภาพถ่ายรังสีปลายราก (Periapical X-Rays): ภาพดิจิทัลเอกซเรย์แบบนี้จะแสดงรายละเอียดของฟันทั้งซี่ รวมทั้งกระดูกที่รอบรับฟัน ใช้เพื่อดูว่ามีรอยโรคปลายรากฟัน หรือ มีการละลายตัวของกระดูกรอบๆฟันหรือไม่
ภาพดิจิทัลเอกซเรย์ นอกช่องปาก:
- พาโนรามิค (Panoramic X-Rays): ตัวเครื่องจะหมุนรอบศีรษะของผู้ป่วย ภาพดิจิทัลเอกซเรย์ ใช้เพื่อดูฟันคุด, จำนวนฟันที่มี, หรือใช้เพื่อวางแผนการรักษา รวมทั้งใช้ในการฝังรากเทียม
- ภาพถ่ายด้านข้าง(Lateral Cephalometric x-rays): ภาพ ดิจิทัลเอกซเรย์ แบบนี้ใช้เพื่อวางแผนการรักษาของการจัดฟัน (ortho)
- ภาพถ่ายหน้าตรงCephalometric x-rays : ภาพดิจิทัลเอกซเรย์ นี้ใช้เพื่อ ดูความสมมาตรของใบหน้า ใช้ในคนไข้ที่ต้องผ่าตัดขากรรไกร (surgery)